ເຄມີສາດມໍ 4 -7
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
ສານກັນບູດເປັນທາດທີ່ບໍ່ດີຕໍ່ສຸຂະພາບແມ່ນແທ້ຫລືບໍ່?
ສານກັນບູດເປັນທາດທີ່ບໍ່ດີຕໍ່ສຸຂະພາບແມ່ນແທ້ຫລືບໍ່?
อาหารไม่ได้อร่อย สด น่ากินตลอดไป เพียงไม่นาน ไม่กี่วัน หรือชั่วโมง รสของมันก็จะเปลี่ยนไป หรืออาจจะมีราขึ้น อาหารบูด เสีย เน่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากจุลชีพขนาดเล็กแย่งเรากินอาหารแทน และอาจจะปล่อยของเสียซึ่งทำให้อาหารบูด หรืออาจจะเป็นปฏิกิริยาเคมีที่ของสารที่เป็นส่วนผสมในอาหารเหล่านั้นเองที่ทำให้มันเสีย อาหารบางชนิดจึงเสียง่ายกว่าชนิดอื่น
แต่ละชนิดมีอายุที่แตกต่างกัน นั่นทำให้เราต้องรู้จักถนอมอาหาร ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ และในปัจจุบันเราใช้ สารกันบูดเพื่อช่วยในการนี้ Preservatives สารกันบูดคืออะไร สารกันบูดคือสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรืออาจจะเป็นสารที่มนุษย์เราผลิตขึ้นมา และใส่ลงไปในอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้มันบูด หรือเสีย โดย เราต้องการคงความสดของอาหารที่เราอยากกินให้สามารถกินต่อไปได้อีกหลาย ๆ วัน มันช่วยหยุดยังหรือชะลอการทำงานของจุลชีพและปฏิกิริยาเคมีที่อาจจะเกิดขึ้นในอาหารได้
โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะใช้สารเคมีใส่ไปในอาหารโดยเฉพาะอาหารที่ยังปรุงไม่สุกเพื่อให้สามารถเก็บไว้ในสภาพดิบได้ โดยสารกันบูดเหล่านี้มีความเป็นกรดโดยธรรมชาติอยู่แล้วและมันจะป้องกันไม่ให้เชื้อรา ยีสต์ และแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตในอาหารของเรา โดยปกติแล้วเราจะไม่รู้เลยว่าอาหารต่าง ๆ ที่เราบริโภคอยู่นี้มีส่วนประกอบของสารกันบูดอยู่หรือไม่เพราะว่ามันมักไม่มีรถชาติใด ๆ หรือไม่ได้ทำให้รสของอาหารเปลี่ยนแปลงไป เราจึงสามารถรู้ได้จากฉลากข้างหีบห่อ
โดยคุณอาจจะแปลกใจว่าอาหารที่มีสารกันบูดใส่อยู่มีมากมายหลายชนิด รวมถึงอาหารที่ได้รับการถนอมเอาไว้แล้วอย่าง ผลไม้แห้ง เนื้อที่ปรุงสุกแล้ว แยมผลไม้ หรือแม้แต่ น้ำอัดลม หยุดก่อนมันไม่ได้มีแค่นั้น อาหารปรุงสุกตามร้านข้าวราดแกง อาหารตามสั่งในร้านริมถนน ก็ล้วนแต่มีสารกันบูดผสมอยู่ แม้ว่าพ่อค้าแม่ขายไม่ได้เทสารกันบูดใส่ลงไปเอง แต่สารกันบูดถูกใส่อยู่ในส่วนประกอบตั้งต้นในการปรุงอาหารเหล่านั้นตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจากโรงงาน
ร่างกายของคุณตอบสนองต่อทุกสิ่งที่คุณกินเข้าไป หากมันเป็นอาหารที่ให้พลังงาน ร่างกายของคุณก็จะย่อยและแปลงไปเป็นพลังงานเพื่อใช้ต่อไป และในกระบวนการเดียวกันนี้เมื่อสารกันบูดถูกรับประทานเข้าไป สารเคมีนี้ก็จะส่งผลต่อร่างกายผู้บริโภคแตกต่างกันไป บางคนที่มีร่างกายไวต่อสารเคมี ก็อาจจะได้รับผลกระทบในด้านลบต่อสารกันบูด
ผลก็คือ ผิวหนังอาจจะเป็นผื่นคัน หายใจติดขัด น้ำมูก หรืออาจจะมีก๊าซเกิดขึ้นในช่องท้องและระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการได้รับสารกันบูด หรือได้รับในปริมาณที่น้อยที่สุดอาจจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า โดยหันไปใช้วิธีการถนอมอาหารแบบอื่น หรืออ่านฉลากข้างหีบห่อผลิตภัณฑ์ให้ละเอียดเพื่อพิจารณาส่วนประกอบที่อยู่ในอาหารอย่างถี่ถ้วน
ก่อนที่จะมีการคิดค้นตู้เย็น หรือสารกันบูดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เราก็มีวิธีการถนอมอาหารที่หลากหลาย จุดประสงค์หลักก็เหมือนกับการที่เราใช้สารกันบูดคือพยายามหยุดยั้งการทำงานของปฏิกิริยาเคมีที่อาจจะทำให้อาหารเน่าเสีย หรือการขัดขวางการดำรงชีวิตของจุลชีพ เช่น การแช่ผักผลไม้ลงในสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดเพื่อทำลายสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการอาศัยของจุลินทรีย์ต่าง ๆ เช่น การหมักดองด้วยน้ำส้มสายชู หรือการถนอมอาหารด้วยการตากแห้งเพื่อกำจัดน้ำอันเป็นส่วนประกอบหลักในปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และทำให้จุลชีพไม่สามารถอาศัยอยู่และกินอาหารของเราได้
ดังนั้นสำหรับคนที่มีอาการแพ้สารกันบูด หรือต้องการกินอาหารที่ปลอดสารเคมี อาจจะถึงเวลาต้องย้อนกลับมาใช้วิธีดั้งเดิมในการปรุงและเก็บรักษาอาหาร ร่วมกับการใช้ความเย็นของตู้แช่เย็นในการยืดอายุของอาหารแทน
แหล่งข้อมูล
TED-Ed Channel. Are food preservatives bad for you? - Eleanor Nelsen. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560
Healthyfood. What are 'preservatives'?. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560
Kelly Hallman. food preservation pros and cons. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น